• Home
  • News
  • มลภาวะทางอากาศ เกิดจากอะไร

มลภาวะทางอากาศ เกิดจากอะไร

ในโลกยุคปัจจุบันที่จำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบรอบด้านไว้เว้นแม้แต่ มลภาวะทางอากาศ (air pollution) โดยเฉพาะสถาณการณ์ปัจจุบันที่บ้านเรากำลังโดนผลกระทบจากฝุ่นพิษ PM 2.5 ซึ่งเรานิยามคำรวมๆว่า มันคือมลภาวะทางอากาศ ซึ่งหมายถึง ภาวะของอากาศที่มีสารเจือปนอยู่ในปริมาณที่มากพอ และเป็นระยะเวลานานพอที่จะทำให้เกิดผลเสียต่อมนุษย์ สัตว์ พืช ซึ่งสารเจือปนดังกล่าวอาจเป็นธาตุหรือสารประกอบ อาจอยู่ในรูปของแก๊ส ของเหลว หรือของแข็งก็ได้ โดยมวลสารหลักที่สำคัญคือ ฝุ่นละออง ตะกั่ว (Pb) แก๊สคาร์บอนมอนออกไซด์ (CO) แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) แก๊สออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ซึ่งเป็นมลภาวะที่เกิดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์

ซึ่งเราสามารถระบุตัวสารพิษและแหล่งที่ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศใกล้ตัว รวมไปถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายหากได้รับสารพิษดังกล่าวได้ดังนี้

  1. อนุภาคของสารแขวนลอยในอากาศ
    ประกอบด้วยฝุ่น ควัน หมอกและไอน้ำซึ่งลอยปะปนอยู่ในชั้นบรรยากาศ ซึ่งถ้าเกิดเข้าตาอาจทำให้ระคายเคือง หรืออาจสะสมจนเกิดการอักเสบรุนแรงต่อดวงตาของเรา แต่ถ้าเกิดจาการสูดดมเข้าไปในปริมาณมากก็อาจส่งผลไปถึงอวัยวะภายในร่างกาย ทำให้เกิดอาการเป็นพิษได้
  2. ควันบุหรี่หรือควันยาสูบ
    เป็นมลภาวะทางอากาศพิ้นฐานที่เรามักจะเจอในชีวิตประจำวัน ควันบุหรี่เหล่านี้ไม่เพียงแต่จะทำร้ายร่างกายผู้สูบเท่านั้น มันยังส่งผลร้ายต่อบุคคลรอบข้างถึงแม้จะไม่ได้เป็นผู้สูบก็ตาม ทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งปอด โรคหืด หรือการติดเชื้อในปอดได้เช่นเดียวกัน
  3. สารปนเปื้อนทางชีวภาพ
    สารตัวนี้เป็นสารที่เกิดขึ้นในธรรมชาติและล่องลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศ เช่น ละอองเกสรดอกไม้หรืออับสปอร์ สารเหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหืด หอบ ภูมิแพ้ หรือโรคเยื่อบุตาอักเสบได้
  4. สารประกอบอินทรีย์ที่ระเหยเป็นไอได้เร็ว
    สารจำพวกนี้ส่วนใหญ่เป็นสารระเหยที่มาจากสีทาบ้าน สีน้ำมัน หรือแม้แต่การระเหยจากน้ำมันปริโตเลียม สารเหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่ตา จมูกและคอ ในบางครั้งอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดหัว วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้และที่ร้ายแรงที่สุดคือทำให้ระบบการทำงานของตับล้มเหลว
  5. ฟอร์มอลดีไฮด์
    สารจำพวกนี้มักพบได้ในชีวิตประจำวันเช่น น้ำมันพืช แชมพู กระดาษชำระ รวมไปถึงควันบุหรี่ ถ้าร่างกายได้รับสารดังกล่าวในปริมาณที่มากในระยะเวลาอันสั้นจะทำให้เกิดการระคายเคืองที่ตา จมูกและเกิดอาการภูมิแพ้ แต่หากได้รับในปริมาณที่มากในช่วงระยะยาวจะส่งผลทำลายระบบประสาท ระบบการย่อยอาหารรวมไปถึงก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้
  6. สารกัมมันตรังสี
    จริงๆแล้วสารจำพวกนี้ส่วนใหญ่จะสะสมอยู่ในชั้นหินและชั้นดินภายในบริเวณบ้านนั่นเอง และจะปลดปล่อยออกมาในรูปของแก๊สซึ่งแก๊สดังกล่าวหากร่างกายได้รับในปริมาณมากอาจส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้

จากทั้งหมดที่กล่าวมานั้นจำทำให้ผู้อ่านเห็นได้ว่า มลภาวะทางอากาศ นั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุมากมาย เพียงแต่ว่าเมื่อเราทราบถึงสาเหตุแล้ว เราจะมีวิธีการป้องกันมันอย่างไร ยกตัวอย่างเช่นในกรณีของ ภาวะฝุ่นพิษ PM2.5 ที่เราก้มีการใช้หน้ากากอนามัยแบบ N95 มาช่วยในการป้องกัน

แต่จะดีกว่ามั้ยถ้าเราสามารถจัดการปัญหาเหล่านี้ได้ที่ต้นเหตุดีกว่าปล่อยให้สภาพอากาศย่ำแย่แล้วหาวิธีป้องกันตัวเอง

ซึ่งหากถ้าคุณกำลังมองหา สินค้าสำหรับบำบัดมลภาวะทุกประเภท ใน ภาคอุตสาหกรรม Anti pollution สามารถติดต่อเราเพื่อปรึกษาและสอบถามข้อมูลรายละเอียดสินค้าได้ที่

Recent posts

Tags
Agriculture fan Airvent Antipollution Biokool Delfin Dust Collector evaporative cooling fan filter bag Fume Collector Jetbag Mist Collector wet scrubber กลิ่นอุตสาหกรรม กำจัดกลิ่นโรงงาน กำจัดฝุ่นอุตสาหกรรม คอกพ่นสี ตู้พ่นสี บำบัดกลิ่นโรงงาน บำบัดฝุ่น ฝุ่นข้าว ฝุ่นงานขัด ฝุ่นงานตัด ฝุ่นพลาสติก ฝุ่นอ่าหาร ฝุ่นเจียร ฝุ่นแป้ง พัดลม EVAP พัดลมดูดอากาศโรงงาน พัดลมฟาร์ม พัดลมระบายอากาศ พัดลมอีแวป พัดลมโรงงาน พัดลมไอเย็นอุตสาหกรรม ม่านพ่นสี ระบบบำบัดกลิ่น ระบบบำบัดอากาศอุตสาหกรรม ระบบระบายอากาศโรงงาน ระบายความร้อนโรงงาน ระบายอากาศ ระบายอากาศโรงงาน ห้องพ่นสี เครื่องกำจัดกลิ่น เครื่องดูดฝุ่นอุตสาหกรรม เครื่องดูดฝุ่นโรงงาน เครื่องทำลมเย็นอุตสาหกรรม

We can help you get the optimal solution for your application.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save

Ask for a free quotation

    Ask for a free quotation